วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Contract farming

Contract farming คือ โครงการที่ผู้รับซื้อผลผลิตทางการเกษตรให้การสนับสนุนเกษตรกรในด้านต่างๆ เพื่อให้เกษตรกรทำการเพาะปลูกพืชโดยมีโปรแกรมการรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรที่ชัดเจนจากผู้รับซื้อ

ที่มา : www.itd.or.th/th/system/files?file=060516-warangkana...pdf

วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน

วัตถุประสงค์
การจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน เพื่อให้เป็นองค์กรรองรับในการดำเนินงานของชุมชน ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน มีผู้รับผิดชอบบริหาร มีการจัดองค์กรและระบบงาน จะทำให้สามารถขอรับการสนับสนุนเงินทุนจากแหล่งต่าง ๆ ได้ วิสาหกิจชุมชน ตามแนวทางของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นวิสาหกิจชุมชนระดับตำบล ที่เกิดขึ้นตามโครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตของชุมชนตำบลนำร่องและตำบลหลัก

คุณสมบัติของวิสาหกิจชุมชน
• เป็นวิสาหกิจชุมชนระดับตำบล ภายใต้การส่งเสริมของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล • สมาชิกประกอบด้วยเกษตรกรผู้มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในตำบลนั้น • สมาชิกเป็นเจ้าของและผู้ดำเนินการ มีการลงทุนร่วมกัน • มีความพร้อมในด้านบุคลากร การบริหารจัดการ มีการจัดทำบัญชี มีการกำหนดกติกา ระเบียบหรือแนวทางปฏิบัติ ของกลุ่ม • พร้อมที่จะจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน เมื่อมีกฎหมายเกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชนถือใช้

วิธีการจัดตั้ง
1. เกษตรกรในตำบลรวมตัวกันโดยความสมัครใจ เพื่อจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนระดับตำบล โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ ดำเนินกิจกรรมร่วมกัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการประกอบการวิสาหกิจชุมชน
2. คณะผู้จัดตั้งจัดทำบัญชีรายชื่อผู้เข้าร่วมกันจัดตั้งและแจ้งความประสงค์ขอจัดตั้งเป้นวิสาหกิจชุมชนต่อสหกรณ์ จังหวัดโดยผ่านศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล
3. ผู้เข้าชื่อร่วมกันจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน นัดประชุมชี้แจงการจัดตั้ง และจัดทำใบสมัครและจัดทำทะเบียนสมาชิก โดยต้องแนบเอกสารดังต่อไปนี้
- สำเนาเอกสารทะเบียนบ้านของสมาชิกในกลุ่มทุกคน พร้อมลงลายมือชื่อรับรองสำเนา
- สำเนาเอกสารบัตรประชาชนของสมาชิกในกลุ่มทุกคน พร้อมลงลายมือชื่อรับรองสำเนา
- สำเนาเอกสารบันทึกการประชุมของกลุ่ม พร้อมลงลายมือชื่อของผู้เข้าร่วมประชุมทุกคน
- ใบมอบอำนาจของสมาชิกในกลุ่มทุกคน (เพื่อให้ตัวแทนในกลุ่มไปจดทะเบียนจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน)
4. จัดประชุมใหญ่วิสาหกิจชุมชน เพื่อพิจารณากำหนดกติกา หรือแนวทางปฏิบัติของวิสาหกิจชุมชนขึ้นถือใช้
5. ระดมทุนรวมกันเป็นค่าหุ้น

ที่มา : http://it1.cpd.go.th/petchburi/BODY_25.htm

โครงการสร้างความร่วมมือไตรภาคี

ไตรภาคี (tripartite) : สนธิสัญญาที่มีคู่สัญญา 3 ฝ่าย

โครงการ "การพัฒนาองค์ความรู้เกษตรกรภายใต้โครงการสร้างความร่วมมือไตรภาคี" เป็นนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรโดยใช้เชิงการตลาดนำการผลิต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการด้านการผลิตและการตลาด โดยการประสานความร่วมมือไตรภาคี ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เกษตรกร และภาคเอกชน ในรูปแบบการทำ Contract farming โดยความร่วมมือกับภาคเอกชน เพื่อมุ่งเน้นการผลิตที่ได้มาตรฐานตามความต้องการของตลาด และการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการแปรรูป การผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน การรวบรวมผลผลิต การจำหน่าย และการตลาด เพื่อแก้ไขปัญหาผลผลิตทางการเกษตรล้นตลาดหรือราคาตกต่ำ ทำให้มีตลาดรับซื้อผลผลิตที่แน่นอนในราคายุติธรรม โดยการทำสัญญาซื้อขายผลผลิตล่วงหน้าหรือการประกันราคารับซื้อขั้นต่ำ

บทบาทหน้าที่ของทั้ง 3 ฝ่าย มีดังต่อไปนี้


ที่มา : ไตรภาคี จาก แปลภาษา ไทย-อังกฤษ NECTEC's Lexitron Dictionary และ ไตรภาคี จาก พจนานุกรม ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร

MOU

MOU (เอ็มโอยู) ย่อมาจาก Memorandum Of Understanding แปลว่า “บันทึกความเข้าใจ” เป็นหนังสือซึ่งฝ่ายหนึ่งแสดงความสมัครใจจะปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใด และตามเงื่อนไขที่ปรากฏในหนังสือนั้นกับอีกฝ่ายหนึ่ง

โดยที่หนังสือนี้ไม่ถือว่าเป็นสัญญาผูกมัด แต่แสดงความต้องการอันแน่วแน่ของผู้ลงนามว่าจะปฏิบัติดังที่ได้ระบุไว้ เช่น สถาบันแห่งหนึ่งในประเทศไทย ทำบันทึกความเข้าใจกับสถาบันในต่างประเทศ เพื่อความร่วมมือ

ในทางการทูตบันทึกความเข้าใจ หรือ “เอ็มโอยู” เป็นส่วนหนึ่งของ “สนธิสัญญา” (treaty) ซึ่ง “สนธิสัญญา” เป็นคำที่มีความหมายทั่วไป โดยอาจมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป อาทิ “ความตกลง” (agreement) “ข้อตกลง” (arrangement) “บันทึกความเข้าใจ” (memorandum of understanding) “บันทึกความตกลง” (me morandum of agreement) “พิธีสาร” (protocol) “อนุสัญญา” (Convention) ฯลฯ อย่างไรก็ดี ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไรก็ตาม หากเข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมาย ถือเป็น “สนธิสัญญา” ทั้งสิ้น.

ที่มา : http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=5249518fee1a6fa1